เมนู
Title

‘คาร์บอนเครดิต’ (Carbon Credit) คือ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งอาจมีธุรกิจที่บริหารจัดการให้กระบวนการทำธุรกิจสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าเป้าหมายจนคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตออกมา ซึ่งมีมูลค่าจนสามารถนำออกขายให้แก่ธุรกิจหรือหน่วยงานที่ในกระบวนการทำงานยังมีส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินกว่าเป้าหมายที่ควบคุม 
ก็สามารถมาซื้อคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยได้ 

ส่วน ‘ตลาดคาร์บอน’ (Carbon Market) คือ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ที่สามารถทำให้ก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลงด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งกลไกตลาดคาร์บอนจะทำให้เกิดความสมดุล โดยทำให้ผู้ประกอบการที่ปล่อยมลพิษ หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีต้นทุนในปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลก 

ที่มา: https://climatechange.lta.org/ รวบรวมและนำเสนอโดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

 

ตลาดคาร์บอนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 

  1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market) ถูกจัดตั้งขึ้นจากผลบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมาย มีกฎหมายและกฎระเบียบที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายกำกับอย่างชัดเจน ซึ่งต้องมีรัฐบาลออกกฎหมายและเป็นผู้กำกับดูแลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผู้ที่เข้าร่วมในตลาดจะต้องมีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Legally Binding Target) หากผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะถูกลงโทษ และ/หรือ ผู้ที่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ หรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับการบัญญัติกฎหมาย
  2. ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) ถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก๊าซเรือนกระจกมาบังคับ การจัดตั้งตลาดเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือองค์กรเพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดด้วยความสมัครใจ โดยอาจจะมีการตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองโดยสมัครใจ (Voluntary) แต่ไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Non-legally Binding Target) กล่าวคือ กรณีที่องค์กรใดที่สมัครใจดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม คาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการดังกล่าวสามารถนำมาขายในตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ และองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมเกินกว่าปริมาณที่กำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าวเพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้งในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด

 

สถานการณ์ตลาดคาร์บอนในประเทศไทย ปัจจุบันมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีการขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 อยู่ในรูปแบบตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) ภายใต้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ TGO เป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ซึ่งคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจากโครงการดังกล่าว จะเรียกว่า เครดิต TVERs สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ผ่านปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ทั้งในระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์ 
อีเว้นท์ ซึ่งปัจจุบันการขายคาร์บอนเครดิตยังเกิดขึ้นไม่มาก จากที่กล่าวเรื่องคาร์บอนเครดิตทั้งหมดมา หากมองด้านการลงทุนในตอนนี้ อาจมีผลประโยชน์ที่จะดูห่างตัวสำหรับกลุ่มคนพนักงานออฟฟิศ, นักศึกษา หรือเหล่า SMEs อยู่พอสมควร แต่บอกเลยว่าไม่ห่างไกลในอนาคต เพราะปัจจุบันทั่วโลกมีการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตกันมากกว่า 7 พันล้านตัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 

ขอบคุณแหล่งอ้างอิงข้อมูลจาก www.ananda.co.th, www.bangkokbanksme.com

บริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (UTEL) ผู้ให้คำปรึกษา และให้บริการด้านการออกแบบพัฒนาวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่หลากหลายแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร การขนส่ง เทคโนโลยี คาร์บอนเครดิต โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้คนไทยได้รับการบริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความแข็งแกร่ง เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติ ด้วยศูนย์บริการซึ่งมีอยู่ครอบคลุมทั่วประเทศ UTEL ส่งมอบ Solution ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าองค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ UTEL : 02-016-5222 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

26/03/2024
มาทำความรู้จัก “Solid-State Battery” เทคโนโลยีแบตเตอรี่แห่งอนาคต!
Solid-State battery (แบตเตอรี่โซลิดสเตต) คืออะไร? แบตเตอรี่โซลิดสเตต เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้ของแข็งเป็นอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่แทนที่การใช้อิเล็กโทรไลต์แบบของเหลวหรือแบบโพลิเมอร์เจล
13/02/2024
ส่อง 5 เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน วันนี้ UTEL จะพาไปดูเทคโนโลยี 5 ด้าน
17/01/2024
WiFi 7 (IEEE 802.11be Extremely High Throughput) เพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของเครือข่ายไร้สาย
WiFi 7 เป็นมาตรฐาน WiFi ที่กำลังจะมา โดยมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า IEEE 802.11be Extremely High Throughput (EHT) ซึ่งทำงานอยู่บน 3 คลื่นความถี่ (2.4 GHz, 5 GHz, และ 6 GHz) เพื่อใช้งานทรัพยากรคลื่นความถี่อย่างเต็มความสามารถ
กลับไปด้านบน