เมนู
Title

ไลดาร์ (LiDAR) คือ กระบวนการวัดระยะทางและสร้างภาพ 3 มิติโดยใช้การส่งและรับสัญญาณแสงเลเซอร์ (laser) LiDAR ย่อมามาจาก "Light Detection and Ranging" หรือ "Laser Imaging, Detection, and Ranging" เทคโนโลยีนี้มักถูกนำมาใช้ในหลายสาขาทางวิทยาศาสตร์และงานวิศวกรรม เพื่อให้ข้อมูลที่ละเอียดสูงเกี่ยวกับพื้นที่หรือวัตถุต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อม 3 มิติ หรือแม้กระทั่งสามมิติ

วิธีการทำงานของ ไลดาร์ (LiDAR) นั้น เริ่มจากการส่งแสงเลเซอร์ที่มีคลื่นยาวไปในทิศทางของพื้นผิวหรือวัตถุที่ต้องการวัดระยะ เมื่อแสงเลเซอร์ตกลงมาบนพื้นผิวหรือวัตถุนั้น ๆ และสะท้อนกลับมา เครื่องรับสัญญาณ ไลดาร์ (LiDAR) จะตรวจจับและวัดเวลาที่ใช้ในการส่ง-กลับ จากนั้นโปรแกรมคำนวณระยะทางโดยใช้ความเร็วของแสง ซึ่งเป็นค่าที่รู้จากลักษณะของแสงและเวลาที่ใช้ในการส่งกลับ

ภาพป่าอุทยานแห่งชาติเอล โดราโด ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาก่อน-หลังการเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ในปี 2014 จากข้อมูลของ U.S. Forest Service และ NASA’s Jet Propulsion Laboratory (ที่มา : NASA)

เทคโนโลยี ไลดาร์ (LiDAR) ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในวงการภูมิสารสนเทศและการทำแผนที่ โดยเซนเซอร์ที่ใช้สามารถติดตั้งได้ทั้งบนพื้นโลก บนเครื่องบิน หรือบนดาวเทียมสำหรับวัดความสูงของภูมิประเทศ การเข้ามาของ LiDAR ช่วยให้การทำแผนที่แม่นยำขึ้น ในปัจจุบันมีการนำไลดาร์ (LiDAR)ไปใช้ประโยชน์ในหลายด้านอื่นๆ เช่น งานด้านภัยพิบัติ, การสำรวจแม่น้ำเพื่อสร้างแบบจำลอง 3 มิติให้ทราบข้อมูลความลึกตื้น หรือการตรวจสอบน้ำท่วม , การสร้างแบบจำลองมลพิษ (Modelling of the pollution) แสดงถึงความหนาแน่นของมลพิษเพื่อนำไปบริหารจัดการเมืองให้ดีขึ้น หรืองานด้านโบราณคดีและการก่อสร้างอาคาร (Archeology and building construction) ที่ไลดาร์ (LiDAR) จะสามารถเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ยากจะเข้าถึงได้ ข้อมูลโครงสร้างของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง อาจเป็นการเก็บข้อมูลหรือเพื่อนำมาใช้วางแผนการบูรณะวัตถุและโบราณสถานก็ได้ และยังนำมาใช้กับรถไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) เพื่อช่วยในระบบนำทางและระบบทำให้รถเลี้ยวโค้งอัตโนมัติอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้นไลดาร์ (LiDAR) ยังถูกนำมาใช้กับเทคโนโลยีใกล้ตัวเราอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น ในยานพาหนะ หุ่นยนต์ทำความสะอาด หรือฟีเจอร์ในสมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยในด้านยานยนต์อัตโนมัติ (Autonomous vehicles) ไลดาร์ถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบวัตถุรอบข้างเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ขับขี่ อีกทั้งยังถูกนำมาใช้ในระบบขับขี่ด้วยตนเอง (Self - Driving) รวมไปถึงโลกเสมือนจริง (Metaverse) ที่กำลังเป็นกระแสร้อนแรงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เทคโนโลยีตัวนี้จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อม 3 มิติเสมือนจริงได้นอกเหนือจากที่มนุษย์เราเคยสัมผัส 

ภาพพื้นผิวของดวงจันทร์ที่จำลองจากข้อมูลที่เก็บโดย LiDAR สำหรับใช้ในโปรเจกต์​ Luna-27 ที่จะส่งอุปกรณ์ไปบนพื้นผิวดวงจันทร์ในปี 2025 (ที่มา : ESA)

บริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (UTEL) ผู้ให้คำปรึกษา และให้บริการด้านการออกแบบพัฒนาวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่หลากหลายแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร การขนส่ง เทคโนโลยี ไลดาร์ (LiDAR) โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้คนไทยได้รับการบริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความแข็งแกร่ง เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติ ด้วยศูนย์บริการซึ่งมีอยู่ครอบคลุมทั่วประเทศ UTEL ส่งมอบ Solution ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าองค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ UTEL : 02-016-5222

 

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล www.gistda.or.th, www.kmuttlibrary.medium.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

26/03/2024
มาทำความรู้จัก “Solid-State Battery” เทคโนโลยีแบตเตอรี่แห่งอนาคต!
Solid-State battery (แบตเตอรี่โซลิดสเตต) คืออะไร? แบตเตอรี่โซลิดสเตต เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้ของแข็งเป็นอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่แทนที่การใช้อิเล็กโทรไลต์แบบของเหลวหรือแบบโพลิเมอร์เจล
21/03/2024
คาร์บอนเครดิต TVERs การลงทุนกับอากาศ…สร้างรายได้
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งอาจมีธุรกิจที่บริหารจัดการให้กระบวนการทำธุรกิจสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าเป้าหมายจนคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตออกมา
17/01/2024
WiFi 7 (IEEE 802.11be Extremely High Throughput) เพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของเครือข่ายไร้สาย
WiFi 7 เป็นมาตรฐาน WiFi ที่กำลังจะมา โดยมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า IEEE 802.11be Extremely High Throughput (EHT) ซึ่งทำงานอยู่บน 3 คลื่นความถี่ (2.4 GHz, 5 GHz, และ 6 GHz) เพื่อใช้งานทรัพยากรคลื่นความถี่อย่างเต็มความสามารถ
กลับไปด้านบน